มาตรฐานน้ำมันเครื่อง ตามสภาพการใช้งาน

มาตรฐานน้ำมันเครื่อง ตามสภาพการใช้งาน

มาตรฐานน้ำมันเครื่อง ได้ถูกกำหนดขึ้นมาจากผลการทดสอบกับเครื่องยนต์แบบต่างๆ ที่กำหนดวิธีการทดสอบให้ใกล้เคียงกับการใช้สภาพการใช้งานจริง ในสภาพต่าง ๆ แล้วเทียบเป็นมาตรฐานจากระดับต่ำ ไปสู่ระดับสูงเพื่อให้สอดคล้องกับวิวัฒนาการของเครื่องยนต์ที่ต้องทำงานหนักมากขึ้น ซึ่งต้องการน้ำมันเครื่องที่มีคุณภาพสูงขึ้นตามมาตรฐานที่ใช้อ้างอิง  โดยแบ่งเป็น 5 มาตรฐาน ได้แก่

มาตรฐานน้ำมันเครื่อง

ผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่อง

1.  มาตรฐานน้ำมันเครื่อง API (American Petroleum Institute) สถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกา ได้กำหนดมาตรฐานดังนี้ 

        1.1  มาตรฐานน้ำมันเครื่อง เบนซินใช้อักษร S (Service Station) เริ่มตั้งแต่ SA, SB, SC, SD, SE ซึ่งล้าสมัยและยกเลิกไปแล้ว ปัจจุบันที่ใช้อ้างอิงกันอยู่ ได้แก่ SF, SH, SJ และ SL ที่เป็นมาตรฐานสูงสุดที่ประกาศใช้ล่าสุดเมื่อ 1 ส.ค. 2544  รายละเอียดในแต่ละชั้นคุณภาพ

SA = เลิกใช้แล้ว เป็นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานไม่มีการเติมสารเพิ่มประสิทธิภาพใด ๆ ทั้งสิ้น

SB = เลิกใช้แล้ว มีการเติมสารเพิ่มประสิทธิภาพภาพบางชนิด เช่น สารป้องกันการสึกหรอ สารป้องกันการเกิดสนิม และสารป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน

SC = เลิกใช้แล้ว มีการเติมสารเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น สารป้องกันการสึกหรอ สารป้องกันการเกิดตะกอน และ สนิม เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ปี 1967 หรือเก่ากว่า

SD = เลิกใช้แล้ว มีสารเพิ่มประสิทธิภาพเหมือนกับ SC เหมาะสำหรับรถยนต์ในปี 1968-70

SE = เลิกใช้แล้ว มีการพัฒนาคุณภาพ และ การป้องกันที่เหนือกว่าชั้นคุณภาพ SD เหมาะสำหรับรถยนต์ในปี 1971-1972

SF = เลิก ใช้แล้ว มีการเติมสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพที่สูงกว่าSEในด้านการป้องกันการสึกหรอ และ การทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ใช้กับเครื่องยนต์ในปี 1988 หรือ เก่ากว่า

SG = เลิกใช้แล้ว มีการเติมสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพที่สูงกว่าSF เหมาะสำหรับรถยนต์ในปี1989-1993

SH = ยังพอที่จะใช้ได้ มีประสิทธิภาพเหนือกว่าSG พร้อมทั้งลดมลภาวะได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ในปี1996 หรือ เก่ากว่า

SJ = ยัง สามารถใช้ได้อยู่ในปัจจุบัน มีประสิทธิภาพเหนือกว่าSH มีอายุการใช้งานนานขึ้น ยืดอายุการใช้งานให้กับCatalytic Converter ช่วยลดมลพิษได้ดีขึ้น ลดการระเหย ลดการสึกหรอได้ดี กว่า ป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้ดีกว่าเก่า และ มีสารป้องกันต่างๆที่ดีขึ้น เหมาะที่จะใช้กับรถยนต์ในปี 1996-2001

SL = เป็น เกรดคุณภาพที่สูงสุดในปัจจุบัน มีประสิทธิภาพสูงกว่าSJ ในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น การป้องกันการสึกหรอ การเกิดสนิม ป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ลดการเกิดตะกอนที่อุณหภูมิสงได้ดีกว่า ลดการสิ้นเปลืองและช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดีขึ้นเหมาะที่จะใช้กับ รถยนต์ตั้งแต่ปี 2001ขึ้นไป

        1.2 มาตรฐานน้ำมันเครื่องยนต์ดีเซล ใช้อักษร C (Commercial หรือ Compression) เริ่มตั้งแต่ CA, CB ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้วเช่นกัน ปัจจุบันที่ยังใช้อ้างอิงกัน ได้แก่ CC, CD, CF, CE, CF-4, CG-4 และ CH-4 ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดในปัจจุบันที่ประกาศออกใช้ในปี 2542 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ มาตรฐานที่ใช้คือ CD-2 และ CF-2 น้ำมันเครื่องสามารถได้มาตรฐานทั้งเครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซลพร้อมกันได้ เช่น น้ำมันเครื่องยนต์เบนซินมาตรฐาน API SG อาจผ่านการทดสอบได้มาตรฐาน API CD จึงเรียกว่าน้ำมันเครื่องยนต์เบนซินมาตรฐาน API SG/CD ซึ่งสามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลมาตรฐานระดับ CD ได้ด้วย หรือน้ำมันเครื่องยนต์ดีเซล API CF-4/SG ก็สามารถใช้กับเครื่องยนต์เบนซินมาตรฐานระดับ SG ได้ด้วย

รายละเอียดในแต่ละชั้นคุณภาพ 

CA = เลิกใช้แล้ว เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีการใช้งานเบา

CB = เลิกใช้แล้ว เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดปานกลาง ในปี1940-1960

CC = เลิกใช้แล้ว เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลในปี 1961

CD = เลิกใช้แล้ว เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลในปี 1965 สามารถใช้กับเครื่องเทอร์โบได้

CE = เลิกใช้แล้ว เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลในปี 1987 สามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีรอบสูงและเครื่องยนต์เทอร์โบได้

CF = แนะ นำในปี 1994 ยังสามารถใช้ได้อยู่ เหมาะสำหรับรถยนต์off-road เครื่องยนต์ดีเซลชนิด indirect injectedและเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้น้ำมันที่มีส่วนผสมของกำมะถันมากกว่า 0.5%

CF-4 = แนะนำในปี 1990 ยังสามารถใช้ได้อยู่ เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะที่มีรอบสูง และ เครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบ

CG-4 = แนะ นำในปี 1995 ยังสามารถใช้ได้อยู่ เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะที่มีรอบสูงและใช้น้ำมันดีเซลที่มีส่วนผสมของกำมะถันน้อยกว่า 0.5% นอกจากนี้ยังเหมาะที่จะใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่ผ่านมาตรฐานด้านมลพิษในไอ เสียปี 1994อีกด้วย

CH-4 = แนะนำในปี 1998 ยังสามารถใช้ได้อยู่ เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะที่มีรอบสูง ใช้น้ำมันดีเซลที่มีส่วนผสมของกำมะถันไม่เกิน 0.5% นอกจากนี้ยังเหมาะที่จะใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่ผ่านมาตรฐานด้านมลพิษในไอเสียปี 1998ด้วย

CI-4 = แนะนำในวันที่ 5 กันยายน ปี 2002 เป็นเกรดคุณภาพที่ดีที่สุดในปัจจุบัน สามารถใช้ได้กับเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะที่มีรอบสูงและผ่านมาตรฐานด้านมลพิษในไอเสียปี2004 เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ติดตั้งระบบหมุนวนไอเสีย (EGR = Exhaust Gas Recirculation) และใช้น้ำมันดีเซลที่มีส่วนผสมของกำมะถันไม่เกิน0.5%

2.  มาตรฐานสหรัฐฯ (US.Military Specification หรือ MIL-L Spec.) การกำหนดมาตรฐานโดยใช้วิธีการทดสอบคล้าย ๆ กับ API แต่แตกต่างกันที่แต่ละมาตรฐานจะต้องใช้ได้ทั้งในเครื่องยนต์ดีเซลและเครื่องยนต์เบนซิน หน่วยงานเอกชนนิยมนำมาตรฐานทหารนี้ไปใช้อ้างอิงด้วย

        2.1 MIL-L-2104 เป็นมาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลทั้ง 4 และ 2 จังหวะ สามารถใช้ได้กับเครื่องยนต์เบนซินด้วย ปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ คือ MIL-L-2104 D (CD/SF), MIL-L-2104 (CE/SG), MIL-L-2014 F (CF-4/SG) และ MIL-PRF-2104 G

        2.2 MIL-L-46152 เป็นมาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน สามารถใช้ได้กับเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ ได้ด้วย ปัจจุบันที่ใช้คือ
MIL-L-46152 E (SG/CD)

3.  มาตรฐาน CCMC ของยุโรป (Committee of Common Market Constructors)

– เครื่องยนต์เบนซิน : CCMC (G1), (G2), (G3), (G4), (G5)
– เครื่องยนต์ดีเซลงานเบา : CCMC (D1), (D2), (D3), (D4), (D5)
– เครื่องยนต์ดีเซลใช้กับรถยนต์นั่ง (Passenger Diesel) : (PD-1), (PD-2)
มาตรฐานเหล่านี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว โดยมีมาตรฐานใหม่ คือ ACEA แทน

4.  มาตรฐาน ACEA ของยุโรป (Association des Constructeurs Europeen d’ Automobil)

– เครื่องยนต์เบนซิน : ACEA A1, A2, A3 เทียบเท่า API SJ
– เครื่องยนต์ดีเซลงานเบา : ACEA B1, B2, B3, B4
– เครื่องยนต์ดีเซลงานหนัก : ACEA E1, E2, E3, E4, E5

5.  มาตรฐานของบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ (Manufacturers)

        5.1 สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน : VW 500.00, VW 501.01, VW 502.02, DB 229.1, ILSAC (GF-1), GF-2, GF-3

        5.2 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล : DB 227.0/1,DB228.0/1, DB 228.2/3, DB 228.5, DB 229.1, VW 505.00, MAN 270, 271, MAN M 3275, MAN M 3277, VOLVO VDS, VOLVO VDS-2, MACK EO-K/2, MACK EO-L, MACK E0-M, SCANIA LDF, MTL 5044 TYPE 1,2,3 RVI E2, RVI E2R, RVI E3, RVI E3R, RVI RLD

ตารางมาตรฐานน้ำมันเครื่อง

ACEA = Association des Constructeurs Europeens d’ Automobil ก่อตั้งเมื่อ Feb, 1991 เพื่อทดแทน CCMC

ILSAC = International Lubricant Standardization and Approval Committee (สมาคมผู้ผลิตรถยนต์อเมริกันและญี่ปุ่น)

สนใจช้อปผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องยูคอน  ได้ที่