แบตเตอรี่รถยนต์ เปรียบเสมือนหัวใจของรถยนต์ เป็นจุดกำเนิดพลังงานหล่อเลี้ยงรถยนต์ หากไม่มีพลังงานรถก็ไม่สามารถขับเคลื่อนได้ รวมถึงไม่สามารถใช้งานฟังก์ชั่นต่างๆ ของเครื่องยนต์ได้ ดังจะเห็นได้ว่า รถที่เบตเสื่อมจะสตาร์ทติดยาก ระบบรวน ถ้าแบตหมดรถก็ไม่สามารถขับเคลื่อนได้
หน้าที่ของ แบตเตอรี่รถยนต์
แบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บและแจกจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังส่วนต่างๆ ของรถยนต์ ซึ่งมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ภายในมีการทำปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้เกิดประจุกระแสไฟฟ้าในการเริ่มสตาร์ทเครื่องโดยจ่ายไฟไปยังไดสตาร์ท เมื่อสตาร์ทติดไดสตาร์ทจะทำหน้าที่ต่อในระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ ส่วนการใช้ไฟกับอุปกรณ์เล็กๆ น้อยๆ เช่น ไฟตา ไฟเลี้ยว ที่ปัดน้ำฝน ฯลฯ จะมีการจ่ายไฟจากแบตเตอรี่โดยตรง
ส่วนประกอบของแบตเตอรี่
ภายในกล่องสี่เหลี่ยมที่เราเห็นนั้น ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ อีกมากมาย
- ขั้วแบตเตอรี่ (Pole)
- แผ่นธาตุลบ (Negative Plate)
- แผ่นกั้น (Separator& Glass mat)
- แผ่นธาตุบวก (Positive Plate)
- จุกปิด (Vent Plug)
- เปลือกหม้อและฝาหม้อ (Container3 & Lid)
- ขั้ว (Terminal Pole)
ชนิดของแบตเตอรี่
ได้มีการแบ่งชนิดของแบตเตอรี่เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แบตเปียก และ แบตแห้ง
- แบตเตอรี่เปียก จะมีอายุการใช้งานประมาณ ปีครึ่ง – 2 ปี จะมีฝาเปิด-ปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น โดยแบ่งเป็นสองแบบคือ
- แบบที่ต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยๆ จำเป็นต้องเติมน้ำกลั่นอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
- แบบที่ไม่ต้องดูแลบ่อย ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นตลอดเวลา แต่ก็กินน้ำกลั่นมากเช่นกัน
- แบตเตอรี่แห้ง เป็นแบตที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ประมาณ 5-10 ปี โดยแบตชนิดนี้จะไม่มีฝาเปิดให้เติมน้ำกลั่นเหมือนแบบเปียก แต่สามารถส่องดูระดับน้ำกรดและปริมาณไฟที่ชาร์จได้
น้ำกรดที่อยู่ในแบตเตอรี่คืออะไร
น้ำกรดซัลฟูริค (Sulfuric Acid) จะเป็นตัวนำไฟฟ้าระหว่างแผ่นประจุบวก และประจุลบ เพื่อให้เกิดกระแสไฟฟ้า โดยน้ำกรดที่ใช้ในไทยควรมีค่าความถ่วงจำเพาะ(ถ.พ.) ระหว่าง 1.24-1.25 ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส
ได้รู้จักกับคุณสมบัติต่างๆ ของแบตเตอรี่รถยนต์กันแล้ว ดังนั้นอย่าลืมว่าแบตเตอรี่รถยนต์ก็สำคัญไม่แพ้ส่วนอื่นๆ อย่าลืมเปลี่ยนแบตเมื่อถึงกำหนดเวลา ไม่ปล่อยให้แบตเสื่อม เพื่อที่จะใช้รถได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่มีปัญหาจุกจิกตามมา