ขับรถไปอยู่ๆ เบรกมีปัญหา หรือบางทีก็ออกอาการบ้างเป็นบางครั้ง ไม่ว่าจะ เบรกไม่ค่อยอยู่ เบรกมีเสียงดัง หรืออีกหลายอาการที่เกิดขึ้นเวลาเหยียบเบรก ถ้าเบรกมีปัญหาแบบนี้จะต้องทำไงดี
เบรกมีปัญหา เบรกไม่อยู่ ต้องทำอย่างไร
- อย่าเพิ่งตกใจ ตั้งสติดีๆ พยายามเหยียบแป้นเบรกลงไปให้ลึกกว่าปกติ และใช้การเหยียบซ้ำๆ แทนที่จะกดค้างไว้ เพื่อให้เกิดแรงดันให้มากที่สุด
- ในจังหวะที่เหยียบเบรก ค่อยๆ ลดเกียร์ต่ำลงครั้งละ 1 เกียร์จนถึงเกียร์ที่ต่ำสุด
- เมื่อถึงเกียร์ต่ำสุดแล้ว ให้ดึงเบรกมือช่วย โดยกดปุ่มล็อคเบรกค้างไว้ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ล้อล็อค ดึง-ปล่อย สลับกัน เพื่อเป็นการลดความเร็ว จนกว่าจะหยุด
สาเหตุที่ทำให้ เบรกมีปัญหา
- น้ำมันเบรกรั่ว – โดยอาจเกิดจากรอยรั่วในระบบเบรก เช่น สายอ่อนเบรก ท่อแป๊ปเบรก น้ำมันเบรครั่วซึมเป็นเวลานานจนปริมาณน้ำมันเบรกมีไม่เพียงพอ
- ผ้าเบรกหมด – ผ้าเบรกจะเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ที่ติดอยู่เพื่อป้องกันการเสียดสีระหว่างเบรกและจานเบรก ถ้าผ้าเบรกหมด หรือผ้าเบรกเหลือน้อย ก็จะมีการเสียดสีมากขึ้น เกิดเสียงดัง อย่าปล่อยไว้นานจนผ้าเบรกหลุดออกมา ไม่งั้นถ้าถึงขั้นลูกสูบผ้าเบรกหลุด จะทำให้เบรกแตก
- ชิ้นส่วนของระบบเบรกเสื่อมสภาพ – โดยอาจหลวมหรือหลุดออกมา เช่น สากแป้นเบรกเกลียวหลุด น็อตยึดขาเบรกหลุด คาลิปเปอร์เบรกยึดไม่แน่น รวมไปถึงชิ้นส่วนอื่นๆ ที่อาจไม่แน่นและหลุดออกมา
- สายอ่อนเบรกแตก – สายอ่อนที่ใช้งานมานานจะเกิดอาการบวม เวลาเหยียบเบรกจะเกิดการพองตัวเหมือนลูกโป่ง หากเหยียบเบาๆ อาจไม่เป็นอะไร แต่ถ้าหากเหยียบแรงๆ มีแรงดันมาก สายอ่อนเบรกอาจะแตกและทำให้เกิดอันตรายได้
- จานเบรกคดบิดตัว – ทำให้เวลาเบรกแล้วมีอาการสั่น สัมผัสได้ว่าสั่นขึ้นมาจากเท้า หรือหากสั่นมากอาจสั่นไปถึงพวงมาลัย
ไม่อยากให้เบรกมีปัญหา ต้องบำรุงรักษาอย่างไร
- ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกตามระยะกำหนด
- ใชน้ำมันเบรกตรงตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนด
- วัดผ้าเบรกว่าเหลือน้อยหรือยัง ถ้าผ้าเบรกหมดควรรีบเปลี่ยนใหม่ อย่ารอให้หมดจนกินจานเบรก
- เช็คดูจานเบรก ว่ามีการคดตัวหรือบิดงอหรือไม่ ถ้ามีควรเจียร์จาน
- หากรถใช้งานมานาน จนชุดเบรกเสื่อมสภาพ ก็ความล้างและเปลี่ยนชุดซ่อมเบรก
หมั่นดูแลรถ อย่าปล่อยให้เบรกมีปัญหา เพราะไม่อย่างนั้นอาจเกิดปัญหาในการขับขี่ได้